การตรวจครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ ตรวจอัลตร้าซาวด์
15 ธ.ค. 63
66
การตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์

การตรวจครรภ์ หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์ โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีอยู่ 2 ครั้งในช่วงของการตั้งครรภ์
ครั้งแรกของการตรวจครรภ์คือช่วงสัปดาห์ที่ 12 (เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์) เพื่อคำนวณวันครบกำหนดคลอด และครั้งที่สองคือ  สัปดาห์ที่ 20 (เดือน 5) เพื่อหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ โรงพยาบาลหลายแห่งอาจตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์ แค่ครั้งที่สองเท่านั้นหรือในสัปดาห์ที่ 20 ครั้งเดียวเลย และบางทีก็อาจแนะนำให้ตรวจทั้งสองครั้ง
การตรวจครรภ์ไม่มีอะไรน่ากลัว แม่จะไม่รู้สึกอะไรเลยระหว่างการตรวจครรภ์ แค่นอนลงและแพทย์จะใช้เจลทาบนท้อง แล้วใช้อุปกรณ์สแกนเล็กๆ เคลื่อนไปตามท้องคุณแม่ จากนั้นภาพลูกน้อยที่ทุกคนรอคอยก็จะแสดงให้เห็นบนจอขาวดำเล็กๆ

นอกจากนั้น ก็ยังมีการตรวจครรภ์ด้วยการใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ อีกแล้วแต่ความจำเป็นของแม่ตั้งครรภ์แต่ละคน

การตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์ในกรณีอื่นๆ

1. การตรวจครรภ์ (ทำอัลตร้าซาวด์)ในระยะแรก
หากคุณมีอาการปวดหรือมีเลือดออก เคยแท้งบุตรมาก่อนหรือเคยท้องนอกมดลูก คุณอาจจะต้องตรวจอัลตร้าซาวนด์ตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ 6 - 10 สัปดาห์
การตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และจะช่วยตรวจสอบว่าลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี เพื่อคลายความวิตกกังวลระหว่างการตั้งครรภ์ลงให้มากที่สุด

2. การตรวจครรภ์ (ทำอัลตร้าซาวด์) เพื่อคำนวณวันคลอด
การตรวจอัลตร้าซาวนด์ในช่วง 6 - 12 สัปดาห์ เป็นการตรวจมาตรฐานในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ การตรวจนี้จะช่วยให้คุณทราบวันครบกำหนดคลอดที่แน่นอน อายุของลูกในครรภ์ จำนวนลูกในครรภ์ การเต้นของหัวใจ มีสิ่งผิดปกติใดๆที่เห็นได้ชัดหรือไม่ ตรวจดูว่ารังไข่อยู่ในสภาพปกติดีหรือไม่
การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยระหว่างนั้นภาพของลูกน้อยในครรภ์จะถูกถ่ายเก็บไว้ บางโรงพยาบาลอาจคิดค่าบริการซึ่งคุณสามารถนำไปอวดได้

3. การตรวจครรภ์ (ทำอัลตร้าซาวด์) เพื่อวัดความหนาของน้ำบริเวณต้นคอทารก
(Nuchal translucency scan; NT)
การตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ เป็นการตรวจที่ไม่ลุกล้ำเข้าไปในร่างกาย และไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ โดยปกติจะเริ่มตรวจเมื่อตั้งครรภ์ได้ 11 ถึง 14 สัปดาห์ แต่โรงพยาบาลบางแห่งไม่เสนอการตรวจครรภ์ชนิดนี้
การตรวจชนิดนี้ เป็นการประเมินโอกาสเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ ของทารกในครรภ์ โดยจะประเมินจากอายุของว่าที่คุณแม่ ความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอของทารก กระดูกสันจมูกของทารกและผลการตรวจเลือด หากผลการตรวจชี้ว่าอาจมีโอกาสเสี่ยงสูง คุณอาจต้องรับการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจน้ำคร่ำ เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัด

4. การตรวจครรภ์ (ทำอัลตร้าซาวด์) กลางไตรมาสที่สอง (เดือน 4-6)
คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจครรภ์กลางไตรมาสที่สอง (ช่วงครรภ์ 4 - 6 เดือน) ซึ่งการตรวจในระยะนี้ คุณแม่จะได้เห็นรูปร่างหน้าตาของลูกน้อยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และทราบเพศของลูก การตรวจนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที และโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะจำหน่ายรูปถ่ายจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ให้คุณ ถ้าคุณต้องการ
โดยปกติ การตรวจนี้จะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 18 - 21 ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจความสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์ทั่วทั้งร่างกาย โดยแพทย์จะตรวจดูอวัยวะส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
  • ศีรษะของเด็กเพื่อหาความผิดปกติของสมองหรือปากแหว่งเพดานโหว่
  • กระดูกสันหลังและท้องเพื่อดูว่าอวัยวะเหล่านี้จัดเรียงอยู่ในแนวเดียวกันและมีพัฒนาการที่เหมาะสมหรือไม่
  • ขนาดและรูปร่างของหัวใจของทารก
  • ท้อง ซึ่งควรอยู่ถัดจากหัวใจลงไป คุณอาจจะเห็นน้ำคร่ำบางส่วนที่ลูกของคุณกลืนเข้าไป ซึ่งจะดูคล้ายกับฟองอากาศสีดำในท้องของลูกน้อย
  • ไตและกระเพาะปัสสาวะของทารก
  • มือและเท้าทั้งสองข้าง
  • รก สายสะดือและน้ำคร่ำ
  • วัดขนาดรอบศีรษะของทารก ท้องและกระดูกต้นขาเพื่อให้แน่ใจว่าอวัยวะต่างๆ เหล่านี้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์เท่าเทียมกัน
5. การตรวจครรภ์ (ทำอัลตร้าซาวด์) เพื่อดูพัฒนาการทารกในครรภ์
การตรวจอัลตร้าซาวนด์ชนิดนี้ เป็นการตรวจเพื่อดูว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณเติบโตและมีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จะใช้วิธีการตรวจชนิดนี้ในกรณีที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง